การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากพื้นฐานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดย สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

สิ่งประดิษฐ์จากพื้นฐานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมายถึง ผลงานที่นักเรียนออกแบบ และสร้างขึ้นโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาหรืออำนวยความสะดวกในทุกด้าน มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถใช้งานได้จริง แตกต่างจากโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นการทดลองเพื่อหาคำตอบหรือพิสูจน์สมมติฐาน  

การแข่งขันประเภททีม

  1. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3)
  2. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6)

ทีมละไม่เกิน 4 คน (จำกัดโรงเรียนละไม่เกิน 2 ทีม ต่อระดับชั้น รับสมัครโรงเรียนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน)


รายละเอียดการแข่งขัน

  • รับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – 31 กรกฎาคม 2568
  • ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ปิดรับสมัครเมื่อมีผู้สมัครครบตามจำนวนที่กำหนด โดยยึดตามลำดับ วัน เวลา ในการสมัคร
  • ครูผู้ควบคุมทีมแข่งขัน เป็นผู้กรอกข้อมูล พร้อมแนบผลงานรอบคัดเลือก ในใบสมัครผ่านทางเว็บไซต์ https://sciday.mfu.ac.th หรือ https://www.facebook.com/MFUSciDay
    โดยครูผู้ควบคุมทีมแข่งขันและผู้เข้าร่วมการประกวดแข่งขันต้องอยู่สังกัดโรงเรียนเดียวกัน
  • ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านรอบคัดเลือก วันที่ 8 สิงหาคม 2568 ผ่านทางเว็บไซต์ https://sciday.mfu.ac.th หรือ https://www.facebook.com/MFUSciDay 
  • การประกวดรอบสุดท้าย วันที่ 19 สิงหาคม 2568
    รายงานตัวผู้เข้าแข่งขัน ณ ห้องแข่งขัน 
    อาคารปรีคลินิก (M3) 

กำหนดการ

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ห้อง M3-428
    • 08.15 - 08.45 น.  ลงทะเบียน    
    • 08.50 - 10.10 น.  ดำเนินกิจกรรมการแข่งขัน และตัดสิน
    • 10.10 - 10.20 น.  ประกาศผล และรับรางวัล    
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ห้อง M3-431
    • 09.50 - 10.25 น.  ลงทะเบียน    
    • 10.30 - 11.50 น.  ดำเนินกิจกรรมการแข่งขัน และตัดสิน
    • 11.50 - 12.00 น.  ประกาศผล และรับรางวัล

*กำหนดการและสถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม 


การประกาศผลอย่างเป็นทางการ

ติดตามผลการประกวด ในวันที่ 19 สิงหาคม 2568 ผ่านทางเว็บไซต์ https://sciday.mfu.ac.th และ https://www.facebook.com/MFUSciDay 


กติกาการแข่งขัน

  1. การประกวดแบ่งเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบคัดเลือก และ รอบสุดท้าย โดยรอบคัดเลือก คณะกรรมการจะประเมิน ให้คะแนนทีมที่ส่งข้อมูลครบถ้วนตามเกณฑ์การตัดสินรอบคัดเลือก
  2. ทีมผู้เข้าแข่งขันส่งรายละเอียดสิ่งประดิษฐ์ความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4 (ประกอบด้วยรายละเอียดสิ่งประดิษฐ์ที่ตอบประเด็นตามรายละเอียดเกณฑ์การตัดสินรอบคัดเลือก จำนวน 2 หน้า และร่างรูปภาพสิ่งประดิษฐ์จำนวน 1 หน้า)
  3. ทีมที่ได้คะแนนสูงสุด 7 อันดับแรกของแต่ละระดับชั้น จะได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่การประกวดรอบสุดท้าย ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
  4. ทีมที่ผ่านรอบคัดเลือก จะต้องสร้างสิ่งประดิษฐ์ตามรายละเอียดที่แนบมาในใบสมัคร
  5. การประกวดรอบสุดท้าย ทีมที่ผ่านรอบคัดเลือก จะต้องนำผลงานมาจัดแสดง นำเสนอ สาธิตการใช้งานจริง และตอบข้อซักถามของคณะกรรมการ โดยมีระยะเวลา 10 นาที ต่อทีม 

เกณฑ์การตัดสินรอบคัดเลือก (50 คะแนน)

  1. ที่มาและปัญหา (Pain point) 20 คะแนน
  2. แนวคิดในการออกแบบ/การสร้างสรรค์นวัตกรรม บนพื้นฐานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 20 คะแนน
  3. คุณสมบัติ/หลักการ/วิธีการใช้งาน/ขั้นตอนการทำงาน และคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งประดิษฐ์ 10 คะแนน

เกณฑ์การตัดสินรอบสุดท้าย (100 คะแนน)

  1. ที่มาและปัญหา (Pain point) 20 คะแนน
  2. แนวคิดในการออกแบบ/การสร้างสรรค์นวัตกรรม บนพื้นฐานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 20 คะแนน
  3. การนำเสนอสิ่งประดิษฐ์พร้อมสาธิตการใช้งาน  30 คะแนน
  4. ความสมบูรณ์ของชิ้นงาน 10 คะแนน
  5. การตอบประเด็นข้อซักถาม 20 คะแนน

รางวัลในการแข่งขันต่อระดับชั้น

  • ชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล ๆ ละ 3,000 บาท
  • รองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล ๆ ละ 2,000 บาท
  • รองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล ๆ ละ 1,000 บาท
  • ชมเชย จำนวน 2 รางวัล ๆ ละ 500 บาท

หมายเหตุ 

  • ทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวด ผู้เข้าร่วมประกวดแข่งขัน และครูผู้ควบคุมทีมแข่งขัน จะได้รับเกียรติบัตรแบบออนไลน์
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่มอบรางวัลหนึ่งรางวัลใด กรณีที่เห็นว่าไม่เหมาะสม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

อาจารย์ ดร.พนม วิญญายอง
โทรศัพท์. 0-5391-6773 อีเมล: panom@mfu.ac.th
 

 

สำหรับนักเรียน