การประกวดโตกอาหารพื้นถิ่นภาคเหนือเพื่อสุขภาพ
หน่วยงาน: สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
การแข่งขันประเภททีมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ทีมละ 3 - 4 คน
(เป็นโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเท่านั้น
โรงเรียนละไม่เกิน 2 ทีม)
รายละเอียดการแข่งขัน
- รับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – 21 กรกฎาคม 2566 (จำกัดเพียง 15 ทีมเท่านั้น: ตามลำดับเวลาการส่งใบสมัคร)
- อาจารย์/ครูผู้ควบคุมการแข่งขัน กรอกใบสมัครออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ http://sciday.mfu.ac.th/ หรือ https://www.facebook.com/MFUSciDay
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขัน
วันที่ 4 สิงหาคม 2566 ผ่านทางเว็บไซต์ http://sciday.mfu.ac.th/และ https://www.facebook.com/MFUSciDay - การแข่งขัน วันที่ 17 สิงหาคม 2566
- 08:00 - 09:00 น. รายงานตัวผู้เข้าร่วมแข่งขัน ณ อาคารปฏิบัติการ 2 (S2) ชั้น 1 ห้อง S2-111
- 09.00 - 10.30 น. จัดเตรียมโตก ณ โถงอาคารเรียนรวม 3 (ลาน C3)
- 10.30 - 12.00 น. ประกวดและนำเสนอผลงาน ณ เวทีกลาง โถงอาคารเรียนรวม 1
- ประกาศผลอย่างเป็นทางการในกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่ง ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในวันที่ 17 สิงหาคม 2566 และติดตามผลการประกวด ผ่านทางเว็บไซต์ http://sciday.mfu.ac.th และ https://www.facebook.com/MFUSciDay
- ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะได้รับการสนับสนุนค่าวัตถุดิบ ทีมละ 500 บาท ในวันแข่งขัน
กติกาการแข่งขัน
- ผู้เข้าร่วมแข่งขันเตรียมอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วมาด้วยตนเองแล้วนำมาจัดในโตกโดยต้องเป็นอาหารพื้นถิ่น/อาหารพื้นเมืองเท่านั้น
- ชนิดของอาหารบังคับต้องมีอย่างน้อย 5 ประเภท ได้แก่
- แกงพื้นเมือง
- น้ำพริก และเครื่องเคียง(ผัก)
- อาหารปิ้งย่าง หรือทอด
- ข้าวเหนียว
- รายการอาหารพิเศษที่ชูประเด็นการเป็นอาหารพื้นถิ่น (มีเรื่องราวประกอบที่มาที่ไป แสดงแนวคิดของผู้แข่งขันโดยต้องไม่ซ้ำกับรายการที่มีอยู่เดิม)
- จัดทำคำอธิบายคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแต่ละชนิดที่เลือกมาใช้ พร้อมระบุจุดเด่นของโตกที่ส่งเข้าประกวดลงในเอกสารขนาด A4 และติดตั้งบริเวณโตก
- ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องประเมินราคาของโตกที่จัดว่ามีราคาเท่าใด (ต้นทุนวัตถุดิบ + ค่าฝีมือ) ถึงแม้จะปลูกหรือผลิตได้เอง
- ผู้เข้าร่วมแข่งขันนำอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วมาจัดแต่งขันโตก ณ สถานที่จัดงาน (โดยให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันจัดหาอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ และโตกมาเอง กำหนดให้โตกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 50 เซนติเมตร และอาหารบังคับจะต้องจัดวางบนโตกเท่านั้น)
เกณฑ์การให้คะแนน (รวม 100 คะแนน)
- คุณค่าทางโภชนาการของรายการอาหารที่ใช้ประกวด 30 คะแนน
- ความคิดสร้างสรรค์/เรื่องราวอาหารพื้นถิ่น 20 คะแนน
- รสชาติ และความอร่อย 20 คะแนน
- ความสวยงามและประณีตในการจัดโตก 20 คะแนน
- ต้นทุนที่ใช้ 10 คะแนน
มูลค่าของรางวัลในการแข่งขัน
- ชนะเลิศ 3,000 บาท
- รองชนะเลิศอันดับ 1 2,000 บาท
- รองชนะเลิศอันดับ 2 1,000 บาท
- รางวัลชมเชยจำนวน 2 รางวัลๆ ละ 500 บาท
หมายเหตุ
- ทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวด ผู้เข้าร่วมประกวด แข่งขันและครูผู้ควบคุมการแข่งขัน จะได้รับเกียรติบัตรแบบออนไลน์
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
- ผู้เข้าร่วมงานสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะเข้าร่วมกิจกรรม หากก่อนเข้าร่วมงานมีอาการที่น่าสงสัย มีไข้ ไอ น้ำมูก ควรดูแลตัวเองและตรวจ ATK หรือเลี่ยง การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อป้องกันการกระจายเชื้อ
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-5391-6738
E-mail: phunsiri.s@mfu.ac.th
อ.พันธ์สิริ/สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร