การประกวดสื่อการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดย สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

การแข่งขันประเภททีม 

  • ประเภททีมบุคลากรทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนสมาชิก 2 -5 คน
  • ประเภททีมบุคลากรทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย จำนวนสมาชิก 2 -5 คน

หลักการประกวด

เป็นการประกวดสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบชิ้นงาน สิ่งพิมพ์ หรือรูปแบบออนไลน์ ด้านคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนในชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนหรือผู้สนใจสามารถศึกษาเรียนรู้ในเนื้อหาสาระขององค์ความรู้นั้นอย่างเข้าใจ และสร้างแรงจูงใจในการเรียนด้านคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


รายละเอียดของผู้สมัคร

ผู้สมัครต้องเป็นครูผู้สอน กลุ่มสาระคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน และ น่าน
มีสมาชิกจำนวน 2 – 5 คน โดยสมาชิกทุกท่านต้องอยู่สังกัดโรงเรียนเดียวกัน (โดยต้องเป็นครูผู้สอน กลุ่มสาระคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2 คน)


รายละเอียดการสมัคร 

  • การประกวดสื่อฯ จะมีรอบคัดเลือก และรอบสุดท้าย
    • เปิดรับสมัครส่งผลงานตั้งแต่บัดนี้ – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 (รอบคัดเลือก)
    • ผู้สมัครกรอกใบสมัคร พร้อมแนบไฟล์นำเสนอผลงาน  ผ่านระบบการรับสมัครออนไลน์ทางเว็บไซต์ sciday.mfu.ac.th หรือ www.facebook.com/MFUSciDay   
    • ประกาศรายชื่อทีมที่เข้ารอบสุดท้ายจำนวน 6 ทีมของแต่ละประเภทในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2568
    • แข่งขันรอบสุดท้าย วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2568  ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
      • ประเภททีมฯ ระดับ ม.ต้น 
        • 12.30 – 16.00 น. รายงานตัวและแข่งขันรอบสุดท้าย ณ อาคารปฏิบัติการ M3 ห้อง 431
      • ประเภททีมฯ ระดับ ม.ปลาย
        • 12.30 – 16.00 น. รายงานตัวและแข่งขันรอบสุดท้าย ณ อาคารปฏิบัติการ M3 ห้อง 428

*** กำหนดการและสถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


กติกาและรายละเอียดในการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด

การประกวดสื่อฯ จะมีรอบคัดเลือก และรอบสุดท้าย

  • รอบคัดเลือก
    ให้ทีมเจ้าของผลงานอัดคลิปวิดีโอแนะนำสื่อที่ส่งประกวดให้ทางคณะกรรมการฯ โดยคลิปต้องมีเวลาไม่เกิน 10 นาทีและมีรายละเอียดข้อมูลดังนี้ 
    • การแนะนำตัวเจ้าของผลงาน
    • แรงบันดาลใจหรือแนวคิดในการจัดทำสื่อฯ
    • องค์ประกอบ
    • วิธีการใช้
    • จุดเด่นและผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • รอบสุดท้าย
    • ทางคณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาคัดเลือกผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายจำนวน 6 ผลงานจากรอบคัดเลือก
    • ทีมเจ้าของผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือกจะต้องมานำเสนอให้คณะกรรมการตัดสิน ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในช่วงเวลาการจัดงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ฯ โดยจะมีเวลาในการนำเสนอผลงานทีมละ 10 นาทีและตอบข้อซักถามจากคณะกรรมการตัดสินอีก 5 นาที

รายละเอียดในการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด 

  • เป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบชิ้นงาน สิ่งพิมพ์หรือรูปแบบออนไลน์  อย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุง 2560 ที่ประกอบด้วยทั้งเนื้อหาสาระองค์ความรู้ และการสร้างแรงจูงใจในการเรียนคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
  • สื่อที่ส่งเข้าประกวด ต้องระบุหัวข้อและรายวิชาที่ใช้ในการเรียนการสอน
  • สื่อที่ส่งเข้าประกวด ต้องมีความสมบูรณ์และใช้งานได้จริงในการเรียนการสอน
  • ไม่จำกัดรูปแบบและวิธีการจัดทำสื่อ
  • องค์ประกอบหรือส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตสื่อ ต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ,พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเนื้อหาในการนำเสนอต้องมีความเหมาะสม ไม่ขัดกับศีลธรรมอันดี หากตรวจสอบพบภายหลังเจ้าของผลงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งถ้าเป็นผลงานที่ได้รับรางวัล จะถือว่าเป็นโมฆะและถูกเรียกรางวัลคืน
  • ผลงานที่เข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากที่ใดมาก่อน กรณีมีผลงานชนะการประกวดมาก่อน หรือเป็นที่ประจักษ์ในภายหลังว่าเป็นผลงานที่ลอกเลียนมาจากผู้อื่น ผลงานนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ในการแข่งขัน

เกณฑ์การให้คะแนน 

  • รอบคัดเลือก (50 คะแนน) 
    •  ผลงานเป็นไปตามประกาศหลักเกณฑ์การประกวด 20 คะแนน
    • ความน่าสนใจ 10 คะแนน  
    • ด้านความสมบูรณ์ของผลงาน 10 คะแนน 
    • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 10 คะแนน 
      (คะแนนรอบคัดเลือกจะไม่ถูกนำไปคิดรวมกับคะแนนรอบสุดท้าย)
  •   รอบสุดท้าย (100 คะแนน)
    • ด้านเนื้อหา 20 คะแนน  เช่น ความถูกต้องและความครบถ้วนของเนื้อหา ความเหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้จริงในห้องเรียน 
    • ด้านความสมบูรณ์ของผลงาน 20 คะแนน เช่น คุณภาพของสื่อที่ผลิต องค์ประกอบต่างๆ ถูกต้องตามหลักวิชาการ การใช้ภาษา การสื่อสารมีความถูกต้องเข้าใจง่ายและตรงประเด็น
    • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 20 คะแนน เช่นความใหม่ ความโดดเด่น สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ความน่าติดตาม ความสนุก ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้สื่อนี้
    • ด้านการนำเสนอ 20 คะแนน เช่น คะแนนความเหมาะสมของเวลาในการนำเสนอ วิธีการนำเสนอเหมาะสมและน่าสนใจ
    • ด้านอื่นๆ  20 คะแนน เช่น การนำไปต่อยอด ความคุ้มค่า ความสะดวกในการเผยแพร่สื่อ การมีส่วนร่วมของผู้เรียน

รางวัลในการประกวด

  • รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล ๆ ละ 6,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล ๆ ละ 4,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล ๆ ละ 2,000 บาท
  • รางวัลชมเชยจำนวน 3 รางวัล ๆ ละ 1,000 บาท

การประกาศผลรางวัล

  • ประกาศผลและมอบรางวัลหลังจบการแข่งขันรอบสุดท้าย ในวันที่ 19 สิงหาคม 2568 ณ สถานที่ทำการประกวดแข่งขัน
  • ประกาศผลอย่างเป็นทางการผ่านทางเว็บไซต์ https://sciday.mfu.ac.th และ https://www.facebook.com/MFUSciDay 

หมายเหตุ

  • ทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวด ผู้เข้าร่วมประกวดแข่งขัน จะได้รับเกียรติบัตรแบบออนไลน์
  • โปรดระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์ของสื่อที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์คลิป เช่น เพลงประกอบหรือรูปแบบตัวหนังสือ หรือรูปภาพต่าง ๆ
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่มอบรางวัลหนึ่งรางวัลใด กรณีที่เห็นว่าไม่เหมาะสม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

คุณณัฐวรรณ  ทองทศ
เบอร์โทรติดต่อ: 053-916216
E-mail : nattawan.tho@mfu.ac.th